การใช้ประกันคีย์แมน ในการวางแผนภาษีสำหรับเจ้าของกิจการ/ เจ้าของธุรกิจ / นิติบุคคล

บทบาทของการ ประกันคีย์แมน กับ การวางแผนภาษีสำหรับเจ้าของกิจการ เป้าหมายสำคัญอันหนึ่งคือ การทำให้ธุรกิจมีกำไร และมีผลประกอบการเติบโตขึ้นทุกปี เป้าหมายสำคัญอันหนึ่งของเจ้าของธุรกิจทุกคน ไม่ว่าพูดหรือเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก็คือ การทำให้ธุรกิจมีกำไร หรือ ผลประกอบการที่ดีมาก ๆ และ เติบโตขึ้นทุก ๆปี และถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนและเมื่อวันที่เหมาะสมมาถึงก็สามารถส่งต่อธุรกิจให้กับรุ่นลูก รุ่นหลานต่อไปได้อย่างปลอดภัย

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ที่มาพร้อมกับกำไรที่มากขึ้นในแต่ละปี ก็ คือ จำนวนเม็ดเงินภาษี ที่ต้องจ่ายออกไปมากขึ้น ๆ ในแต่ละปีเช่นกัน ถ้าเราไปถามเจ้าของธุรกิจ ส่วนใหญ่ ย่อมยินดีจ่ายภาษีคืนสู่ประเทศชาติ ในจำนวนที่เหมาะสมและเป็นธรรม อย่างไรก็ตามก็ยังมีเจ้าของธุรกิจจำนวนมาก ที่ยังไม่ได้ใช้ หรือ ไม่เข้าใจ เครื่องมือ หรือ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยบริหารจัดการภาษีของกิจการ ให้ช่วยประหยัดภาษีอย่างถูกต้องตมที่กฎหมายรับรองไว้ และ ช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของกิจการอย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้กลายเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี

การวางแผนภาษี

วางแผนภาษี

คือ การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการเสียภาษี เพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ สามารถประหยัดภาษีได้สูงสุด ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมแตกต่างจาก การพยายามหลีกเลี่ยงภาษี หรือ การพยายามหนีภาษี ซึ่งถือว่ามีความผิดทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและทางอาญา ดังนั้น โดยบทความนี้ เราจะให้คำแนะนำเฉพาะด้านการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

สมมการ ง่ายๆที่ เจ้าของกิจการทุกคนรู้อยู่แล้วคือ

  • รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ (ก่อนหักภาษี)
  • ภาษี = กำไรสุทธิ (ก่อนหักภาษี) x อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

** อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล มี 2 แบบหลักๆ คือ แบบ นิติบุคคลทั่วไป กับ SME (ดูรูปประกอบ)

ดังนั้น หาก เจ้าของกิจการต้องการ ประหยัดภาษี ก็ต้องทำให้กำไรสุทธิลดลง (แบบสมเหตุสมผล) และ กำไรสุทธิจะลดลงได้ ก็มี 2 วิธี คือ

  1. มีรายได้ (ยอดขาย) ลดลง
  2. มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (แบบมีที่มาที่ไปถูกต้องชัดเจน) ในด้านรายได้หรือยอดขาย

เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ย่อมต้องการจะให้รายได้ของกิจการตนเองเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น พระเอกที่สำคัญของการวางแผนภาษี จึงเป็น เรื่องของ “ค่าใช้จ่าย” ซึ่งตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 65 ตรี ได้กำหนด ไว้ให้รายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือ เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายต้องห้าม”

การบันทึกบัญชี ประกัน Keyman

  1. เงินสำรอง
  2. เงินกองทุน
  3. รายจ่ายส่วนตัว
  4. ค่ารับรองที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
  5. รายจ่ายที่มีลักษณะลงทุน
  6. เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร
  7. การถอนเงินโดยปราศจากค่าตอบแทน
  8. เงินเดือนส่วนที่จ่ายเกินสมควร
  9. รายจ่ายที่ไม่มีการจ่ายจริง
  10. ค่าตอบแทนทรัพย์สินที่เป็นของบริษัทเอง
  11. ดอกเบี้ยเงินทุนของบริษัทเอง
  12. ผลเสียหายในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ
  13. รายจ่ายที่มิใช่เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ
  14. รายจ่ายนอกประเทศ
  15. ค่าซื้อสินทรัพย์ที่จ่ายเกินปกติ
  16. ค่าทรัพยากรธรรมชาติที่สูญไป
  17. ค่าทรัพย์สินที่ตีราคาต่ำลง
  18. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ
  19. รายจ่ายจากผลกำไร
  20. รายจ่ายอื่น ๆ ที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

หากกิจการใด นำค่าใช้จ่ายต้องห้ามเหล่านี้ มาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในทางบัญชี เวลาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ต้องนำค่าใช้จ่ายต้องห้ามเหล่านี้มาบวกกลับเป็นรายได้ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ด้วย

keyman คือใคร ประกันคีย์แมน คืออะไร สำคัญอย่างไร

Keyman คือใคร

มีบทบาทช่วยในการวางแผนภาษีได้อย่างไร ในที่นี้ คำว่า คีย์แมน คือ บุคคลสำคัญ สำหรับธุรกิจ SME ในบ้านเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว หรือ มีหุ้นส่วนเป็นคนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทกัน 2-3 คน มาร่วมก่อตั้งธุรกิจด้วยกัน ซึ่งหุ้นส่วนหลักๆ ก็มักจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารกิจการให้ เจริญเติบโต ฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ คนที่เป็นหุ้นส่วนหลักๆ ที่มีบทบาทในการบริหารจัดการธุรกิจ ก็คือ คีย์แมน มักจะมีบทบาทอย่างเป็นทางการในนามว่า “กรรมการบริษัท” ซึ่งผู้ถือหุ้นก็ต้องลงมติเห็นชอบกันที่จะให้ ใครดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทบ้าง (ซึ่งสามารถมีได้เกินกว่า 1 คน) เราจึงกล่าวได้ว่า กิจการ SME จะไปรอดไม่รอด โตไม่โต ก็อยู่ที่ฝีมือการบริหารจัดกการธุรกิจของ กรรมการบริษัท เหล่านี้

เราจึงเห็นว่า กรรมการ บริษัท จึงมีภาระผูกพัน ทั้งในแง่ส่วนตัว ในฐานะพนักงานคนหนึ่งของบริษัท ที่ก็มีครอบครัวของตนเองต้องรับผิดชอบ และ ในฐานะกรรมการบริษัท ที่มีภาระและข้อผูกมัดต้องรับผิดชอบ ความอยู่รอดของกิจการ พนักงาน (และครอบครัวของพนักงาน) คู่ค้า เจ้าหนี้ ลูกหนี้ เป็นต้น ดังนั้นหาก กรรมการท่านใด ท่านหนึ่ง เกิดเสียชีวิตไปก่อนวัยอันควร ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากในวงกว้าง ทั้งครอบครัวตนเอง ธุรกิจที่ดำเนินอยู่และ กลุ่มบุคคลทั้งหลายที่ได้กล่าวมาข้างต้น

ดังนั้น การที่ กรรมการทุกท่านได้ทำประกันชีวิต และ สามารถพ่วงสัญญาประกันภัยโรคร้ายแรง หรือ สุขภาพ เอาไว้ใน จำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสม จะช่วยเป็นการเตรียมเงินสดสำรองสำหรับ ตนเอง ครอบครัว และ กิจการของตนเอง ได้อย่างดีที่สุด หากเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันคีย์แมน Keyman Insurance คลิก

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

ที่กิจการจะได้จากการทำประกันชีวิตให้กับบุคคลสำคัญ (ประกัน keyman) คือ “เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายให้กับกรรมการ หากเป็นกรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร”

อย่างไรก็ตาม “เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินภาษีอากรที่บริษัทออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามาตรา 40(1) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร ซึ่งพนักงานต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร”

“เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทออกให้ พนักงาน ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร”

“ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย หากผู้รับผลประโยชน์เป็น บุคคลธรรมดา ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร”

รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้ที่ ข้อหารือ เลขที่หนังสือ กค 0811/408 วันที่ 21 มกราคม 2543

สรุปประโยชน์จากการทำประกันคีย์แมน

  1. คุ้มครองบุคคลสำคัญขององค์กร
  2. สร้างสวัสดิการให้กับเจ้าของกิจการ
  3. สร้างเงินสดสำรองให้ครอบครัวและกิจการ
  4. ลดเงินกู้ยืมกรรมการ
  5. ลดปัญหาเรื่องกำไรสะสม
  6. สร้างรายจ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  7. ลดค่าใช้จ่ายต้องห้าม
  8. ช่วยให้การส่งต่อธุรกิจแก่ลูกหลานเป็นไปอย่างราบรื่น

แม้การทำประกันคีย์แมนจะมีประโยชน์มากมายทั้งยังช่วยให้การจัดการค่าใช้จ่ายของกิจการเป็นไปอย่างถูกต้อง และ ในหลายๆ กรณียังช่วยในการวางแผนภาษี แต่การดำเนินการนั้น ก็ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางสรรพากรได้กำหนดไว้ และ จำนวนเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายให้ต้องมีความเหมาะสม คือ ไม่ควรเกิน 5% ของรายได้ทั้งปี หรือ ไม่ควรเกิน 20% ของกำไรสุทธิ อันใดอันนึงที่ต่ำกว่า

อีกทั้งเจ้าของกิจการเองต้องมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ของการทำประกันคีย์แมนที่ชัดเจน ว่าต้องการผลประโยชน์ด้านใดบ้างจากกรมธรรม์ประกันชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ความคุ้มครอง การออมทรัพย์ สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ หรือ การประกันภัยโรคร้ายแรง และเจตนาในการทำที่ถูกต้องและโปร่งใส

สำหรับประเด็นการทำประกันคีย์แมนเพื่อเน้นการประหยัดภาษีนั้น คงต้องบอกว่า แม้จะประหยัดภาษีในฝั่งของกิจการ แต่จำนวนเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายให้นั้น ต้องนำไปคำนวณเป็นรายได้ของกรรมการ ซึ่งกรรมการก็ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมในฐานภาษีของกรรมการ (แต่ภาษีส่วนนี้ บริษัทก็สามารถจะจ่ายให้กรรมการเช่นกัน และ สามารถนำภาษีที่จ่ายให้นี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อีกทอดนึง) สรุปว่า การจะประหยัดภาษีหรือไม่นั้น ก็ต้องดูฐานภาษีของกิจการ เทียบกับ ฐานภาษีของกรรมการ ว่าอันไหนสูงกว่า

สุดท้ายนี้

การทำประกันคีย์แมน เจ้าของกิจการควรจะเลือกปรึกษาตัวแทนหรือที่ปรึกษาทางการเงินที่มีความรู้ ประสบการณ์ ที่ถูกต้อง เพื่อจะได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการที่แท้จริง เพราะการทำประกันชีวิตนั้น เป็นเรื่องของการลงทุนระยะยาว จึงควรวางแผนให้รัดกุมและถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสรรพากรตั้งแต่ต้น

Black Swan Planner บริการวางแผนการเงินให้สอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตของคุณ